แต่เดิมประเทศไทยเราเป็นสังคมเกษตรกรรม คนไทยอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักสร้างผลิตผลทางการเกษตรเพื่อนำมาเลี้ยงปากท้องและครอบครัวให้มีชีวิตรอด ถ้ามีเหลือจากการบริโภคก็จะแบ่งปันให้เพื่อนบ้านอย่างมีน้ำใจต่อกัน หากมีผลิตผลส่วนเกินจึงจะนำไปขาย เป็นสังคมแบบเศรษฐกิจพอเพียง วิถีชีวิตแบบการแลกเปลี่ยนแบ่งปันนี้อยู่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่โบราณแล้ว การค้าขายเพื่อทำกำไรเพิ่งจะเกิดขึ้นมาเมื่อมีชาวจีนและชาวต่างชาติเข้ามาเพื่อทำการค้าขายในบ้านเรา เมื่อประเทศทางตะวันตกขยายอำนาจเข้ามาในแถบเอเชียอาคเนย์ จึงนำเอาแนวความคิดเรื่องเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตกเข้ามาด้วย ส่งผลให้เกิดระบบเศรษฐกิจและการเงินแบบทุนนิยมโดยให้ความสำคัญกับรายได้และจำนวนเงินเป็นสำคัญ ผลกระทบต่อวิถีชีวิตจากเศรษฐกิจแบบทุนนิยม วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเลี้ยงครอบครัวและจุนเจือกันถูกกลืนหายไป การผลิตทางการเกษตรถูกควบคุมด้วยระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพของสินค้าเพื่อนำไปจำหน่ายในตลาดเสรี หรือนำไปป้อนระบบอุตสาหกรรม เพื่อการแปรรูปโดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างรายได้และผลกำไรให้ได้มากที่สุด โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับผลกระทบกับวัฒนธรรมแบบเดิมหรือผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เกษตรกรหันไปทำการเกษตรที่เน้นปริมาณผลผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการทางการตลาดและราคา เกษตรกรตกเป็นเหยื่อของการเป็นหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ รวมทั้งเป็นหนี้ที่ถูกทำให้ติดกับอยู่ภายในห่วงโซ่ของการผลิต...
try it : เว็บไซต์ที่คุณต้องลอง เทรนใหม่ ไลฟ์สไตล์ ข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิง กีฬา
ผู้หญิง ผู้ชาย ไลฟ์สไตล์ น่าสนใจ