เมื่อถึงวันหยุด หลายคนจะคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและการนอนหลับ แต่นักวิจัยในญี่ปุ่น พบว่า สิ่งที่สำคัญในการนอนหลับกลับกลายเป็นจุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งการศึกษาโดยละเอียดของนักวิจัยกลุ่มนี้ทำให้ทราบถึงขอบเขตที่แบคทีเรียสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของลำไส้ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการนอนหลับ โดยการทดลองนั้นนักวิจัยได้ให้หนูกลุ่มหนึ่งกินยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์แรงเป็นเวลาสี่สัปดาห์ซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้หมดลง จากนั้นจึงเปรียบเทียบปริมาณในลำไส้ระหว่างหนูเหล่านี้กับหนูควบคุมที่มีอาหารเหมือนกัน การย่อยอาหารจะย่อยอาหารออกโมเลกุลเล็กที่เรียกว่าสารเมตาบอไลต์ ทีมวิจัยพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสารเมตาบอไลต์ในหนูที่ไม่มีจุลินทรีย์ในลำไส้และหนูควบคุม โดยมีความแตกต่างของสารเมตาบอไลต์มากกว่า 200 ชนิดระหว่างกลุ่มหนูทั้ง 2 กลุ่ม จุลินทรีย์ในลำไส้เป็นตัวกลางพาสารช่วยการนอนหลับ เมื่อวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องของสารเมตาบอไลต์ พวกเขาพบว่าวิถีทางชีวภาพที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการทำลายจุลินทรีย์ในลำไส้ด้วยยาปฏิชีวนะคือ สิ่งที่เกี่ยวข้องในการสร้างสารสื่อประสาทซึ่งเป็นโมเลกุลที่เซลล์ในสมองใช้สื่อสารกัน เช่น วิถีการเปลี่ยนทริปโตเฟนเป็นเซโรโทนินถูกปิดเกือบทั้งหมด หนูที่ไม่มีจุลินทรีย์ในลำไส้มีทริปโตเฟนมากกว่าหนูตัวควบคุม แต่เซโรโทนินเกือบเป็นศูนย์ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าหากไม่มีจุลินทรีย์ในลำไส้ หนูก็ไม่สามารถสร้างเซโรโทนินจากทริปโตเฟนที่พวกมันกินเข้าไปได้ อีกทั้งยังพบอีกว่า...
try it : เว็บไซต์ที่คุณต้องลอง เทรนใหม่ ไลฟ์สไตล์ ข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิง กีฬา
ผู้หญิง ผู้ชาย ไลฟ์สไตล์ น่าสนใจ