September 21, 2023

Warning: sprintf(): Too few arguments in /home/customer/www/tryit.me/public_html/wp-content/themes/newsphere/lib/breadcrumb-trail/inc/breadcrumbs.php on line 254

จุลินทรีย์ในลำไส้คือกุญแจสำคัญในการนอนหลับ

1 min read
จุลินทรีย์ในลำไส้คือกุญแจสำคัญในการนอนหลับ เทรนใหม่ ไลฟ์สไตล์ ข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิงกีฬา

การศึกษาโดยละเอียดของนักวิจัยกลุ่มนี้ทำให้ทราบถึงขอบเขตที่แบคทีเรียสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของลำไส้ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการนอนหลับ

         เมื่อถึงวันหยุด หลายคนจะคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและการนอนหลับ แต่นักวิจัยในญี่ปุ่น พบว่า สิ่งที่สำคัญในการนอนหลับกลับกลายเป็นจุลินทรีย์ในลำไส้   ซึ่งการศึกษาโดยละเอียดของนักวิจัยกลุ่มนี้ทำให้ทราบถึงขอบเขตที่แบคทีเรียสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของลำไส้ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการนอนหลับ   โดยการทดลองนั้นนักวิจัยได้ให้หนูกลุ่มหนึ่งกินยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์แรงเป็นเวลาสี่สัปดาห์ซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้หมดลง จากนั้นจึงเปรียบเทียบปริมาณในลำไส้ระหว่างหนูเหล่านี้กับหนูควบคุมที่มีอาหารเหมือนกัน การย่อยอาหารจะย่อยอาหารออกโมเลกุลเล็กที่เรียกว่าสารเมตาบอไลต์ ทีมวิจัยพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสารเมตาบอไลต์ในหนูที่ไม่มีจุลินทรีย์ในลำไส้และหนูควบคุม โดยมีความแตกต่างของสารเมตาบอไลต์มากกว่า 200 ชนิดระหว่างกลุ่มหนูทั้ง  2  กลุ่ม

จุลินทรีย์ในลำไส้เป็นตัวกลางพาสารช่วยการนอนหลับ

เมื่อวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องของสารเมตาบอไลต์ พวกเขาพบว่าวิถีทางชีวภาพที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการทำลายจุลินทรีย์ในลำไส้ด้วยยาปฏิชีวนะคือ สิ่งที่เกี่ยวข้องในการสร้างสารสื่อประสาทซึ่งเป็นโมเลกุลที่เซลล์ในสมองใช้สื่อสารกัน เช่น วิถีการเปลี่ยนทริปโตเฟนเป็นเซโรโทนินถูกปิดเกือบทั้งหมด หนูที่ไม่มีจุลินทรีย์ในลำไส้มีทริปโตเฟนมากกว่าหนูตัวควบคุม แต่เซโรโทนินเกือบเป็นศูนย์ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าหากไม่มีจุลินทรีย์ในลำไส้ หนูก็ไม่สามารถสร้างเซโรโทนินจากทริปโตเฟนที่พวกมันกินเข้าไปได้   อีกทั้งยังพบอีกว่า หนูขาดสารอาหารประเภทวิตามินบี 6 ซึ่งเร่งการผลิตสารสื่อประสาทเซโรโทนินและโดพามีน

เซโรโทนินกับจุลินทรีย์ในลำไส้

เซโรโทนินเป็นสารสื่อประสาทประเภทยับยั้ง ได้ชื่อว่าเป็น โมเลกุลแห่งความสุข ทำงานเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก และการรับรู้ พบได้มากในสมอง ลำไส้ และเกล็ดเลือด หากระดับปริมาณของเซโรโทนินต่ำสามารถำไปสู่อาการซึมเศร้า แนวโน้มการฆ่าตัวตาย การนอนหลับยาก ไมเกรนได้ ทั้งนี้ ร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์เซโรโทนินได้จากทริปโตเฟน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็น การขาดเซโรโทนินมีผลต่อความผิดปกติของการนอนหลับ การหายไปของจุลินทรีย์ในลำไส้เป็นการกำจัดเซโรโทนินในลำไส้ไปด้วย และระดับเซโรโทนินในสมองอาจส่งผลต่อวงจรการนอนหลับ/การตื่น  ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงจุลินทรีย์ในลำไส้โดยการปรับเปลี่ยนอาหารจึงสามารถช่วยผู้ที่มีปัญหาในการนอนหลับได้

การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อทำลายจุลินทรีย์ในลำไส้ในหนู ทำให้พบว่าสารเมตาโบไลต์ในลำไส้แตกต่างกันในหนูเหล่านี้เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งไปกระทบต่อวิถีการเผาผลาญที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสารสื่อประสาทที่สำคัญเช่นเซโรโทนิน  นอกจากนี้หนูเหล่านี้ยังมีการกระจายตัวของรูปแบบการนอนหลับ/ตื่นในเวลากลางวันที่ผิดปกติ  ดังนั้นในช่วงเทศกาลวันหยุดนี้เมื่อคุณรู้สึกง่วงนอนหลังจากกินไก่งวงยัดไส้ซึ่งอุดมไปด้วยทริปโตเฟน  ก็อย่าลืมขอบคุณจุลินทรีย์ในลำไส้ของคุณ

เครดิตภาพจาก pixabay.com

#จุลินทรีย์ในลำไส้ #เคล็ดลับสุขภาพ #ทริคหลับให้สนิท