รู้จักกับภาวะคลื่นไส้อาหารฝังใจ
1 min read
วันนี้เราจะอธิบายให้คุณฟังว่าภาวะคลื่นไส้อาหารฝังใจเป็นเช่นไร เพราะเชื่อว่าบางคนก็น่าจะมีภาวะนี้ติดตัวมาเหมือนกัน
บทความสุขภาพนี้อาจจะมาพูดกันถึงภาวะร่างกายที่ดูแปลกไปเสียหน่อย “ภาวะคลื่นไส้อาหารฝังใจ” มันเป็นอย่างไรกันนะ แล้วมีอยู่จริงหรือ ถ้าไม่ได้กลิ่นแล้วจะคลื่นไส้ได้อย่างไร วันนี้เราจะอธิบายให้คุณฟังว่าภาวะคลื่นไส้อาหารฝังใจเป็นเช่นไร เพราะเชื่อว่าบางคนก็น่าจะมีภาวะนี้ติดตัวมาเหมือนกัน ไม่รอช้าแล้ว เราตามไปอ่านกันเลยดีกว่า
ลักษณะของภาวะคลื่นไส้อาหารฝังใจ
ภาวะคลื่นไส้อาหารฝังใจเป็นภาวะที่คุณจะเกิดอาการเวียนศีรษะ อยากอาเจียน คลื่นไส้ พะอืดพะอม ในบางรายอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วยเมื่อต้องกลับไปรับประทานอาหารที่เมื่อก่อนตัวเองเคยรับประทานในภาวะที่ป่วยหนักทำให้รู้สึกว่ารสชาติอาหารตอนนั้นบางอย่างรับประทานไปแล้วมีรสชาติที่ผิดแผกไปจากเดิม เช่น มีความหวานที่มากเกินไป เป็นต้น จนเกิดอาการอาเจียนอย่างรุนแรงหรือมีอาการป่วยที่แย่ลงตามมา

สาเหตุของภาวะคลื่นไส้อาหารฝังใจ
ภาวะคลื่นไส้อาหารฝังใจเกิดจากการที่ประสามสัมผัสและสมองของคุณเกิดการยึดติดถาวรกับรสและกลิ่นที่มีความรุนแรงของอาหารซึ่งรับประทานในขณะที่กำลังป่วยหนักหรือร่างกายกำลังอ่อนแอซึ่งอย่างที่เรารู้กันดีว่าเมื่อร่างกายของเราไม่แข็งแรงและอยู่ในภาวะอ่อนแอเต็มที่ การรับสัมผัสรสและกลิ่นก็จะทำงานผิดจากเดิมไปด้วย หากรุนแรงหนักก็จะทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร ทำให้พอรับประทานอาหารบางอย่างที่มีกลิ่นหรือรสชาติเข้มข้นก็มักจะอยากอาเจียนขึ้นมา เมื่อหายดีแล้วสามารถกลับมารับประทานอาหารนั้น ๆ ได้ปกติ แต่อาหารบางอย่างก็อาจจะยังทำให้คุณติดอยู่กับรสและกลิ่นเดิม ๆ ที่เคยสัมผัสได้ยามที่ป่วยอย่างชัดเจนจนเป็นอุปสรรคในการรับประทานอาหารชนิดนั้นอย่างถาวร ผลกระทบคือเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนและไม่อาจสัมผัสกับความอร่อยของอาหารนั้น ๆ ได้อีกเลย
ในบางรายนั้น ภาวะคลื่นไส้อาหารฝังใจก็สามารถเปลี่ยนให้อาหารที่ชอบก่อนหน้าที่ป่วยกลายเป็นอาหารที่แสนเกลียดได้หลังจากป่วยเลยล่ะ ฟังดูเหมือนไม่น่ามีปัญหาอะไรต่อร่างกายมาก เพราะไม่ใช่ภาวะที่ทำให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่ก็เป็นอุปสรรคที่ทำให้คุณรับประทานอาหารได้น้อยชนิดลงและอาจขัดต่อการใช้ชีวิตประจำวันเมื่อต้องอยู่ในสังคมและมีเหตุการณ์ที่พวกเขารับประทานอาหารที่ทำให้คุณเกิดภาวะคลื่นไส้อาหารฝังใจได้

วิธีการป้องกัน
ภาวะคลื่นไส้อาหารฝังใจส่วนใหญ่มักจะเป็นไปอย่างถาวร แม้จะไม่ส่งผลอันตรายต่อชีวิต แต่ก็ควรรู้วิธีป้องกันตัวเองหากไม่อยากให้กิจกรรมในชีวิตประจำวันของคุณต้องหยุดชะงักลงกลางคัน ดังนี้
1.หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้อาหารที่ทำให้คุณเกิดภาวะคลื่นไส้อาหารฝังใจ
2.บอกให้คนที่คุณรู้จักทราบว่าตัวคุณมีภาวะภาวะคลื่นไส้อาหารฝังใจติดตัวมาเพื่อที่เวลาเขาสั่งอาหารที่ตรงกับชนิดที่คุณบอกจะได้หลีกเลี่ยงระยะห่างจากคุณได้หรือหลีกเลี่ยงที่จะสั่งอาหารชนิดนั้นมาให้เวลามีกิจกรรมใด ๆ
3.ดื่มน้ำใบเตยหรือน้ำชาเมื่อรู้สึกถึงกลิ่นอาหารที่ทำให้คุณเกิดภาวะภาวะคลื่นไส้อาหารฝังใจ ยิ่งเป็นน้ำที่กำลังอุ่น ๆ ก็ยิ่งช่วยปรับร่างกายคุณให้บรรเทาอาการคลื่นไส้ได้ดี
รูปภาพประกอบ : Pixabay
#ภาวะคลื่นไส้อาหารฝังใจ #โรคทางสมอง #แพ้อาหาร