September 23, 2023

Warning: sprintf(): Too few arguments in /home/customer/www/tryit.me/public_html/wp-content/themes/newsphere/lib/breadcrumb-trail/inc/breadcrumbs.php on line 254

วิถีชีวิตแบบบริโภคนิยม

1 min read
วิถีชีวิตแบบบริโภคนิยม เทรนใหม่ ไลฟ์สไตล์ ข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิงกีฬา

การบริโภคแบบด้อยคุณภาพทั้งทางรูปธรรมและนามธรรมเกิดขึ้นทั่วไปในสังคมไทย เกิดลักษณะการบริโภคแบบเสพติดผลิตภัณฑ์

แต่เดิมประเทศไทยเราเป็นสังคมเกษตรกรรม คนไทยอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักสร้างผลิตผลทางการเกษตรเพื่อนำมาเลี้ยงปากท้องและครอบครัวให้มีชีวิตรอด ถ้ามีเหลือจากการบริโภคก็จะแบ่งปันให้เพื่อนบ้านอย่างมีน้ำใจต่อกัน หากมีผลิตผลส่วนเกินจึงจะนำไปขาย เป็นสังคมแบบเศรษฐกิจพอเพียง วิถีชีวิตแบบการแลกเปลี่ยนแบ่งปันนี้อยู่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่โบราณแล้ว การค้าขายเพื่อทำกำไรเพิ่งจะเกิดขึ้นมาเมื่อมีชาวจีนและชาวต่างชาติเข้ามาเพื่อทำการค้าขายในบ้านเรา เมื่อประเทศทางตะวันตกขยายอำนาจเข้ามาในแถบเอเชียอาคเนย์ จึงนำเอาแนวความคิดเรื่องเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตกเข้ามาด้วย ส่งผลให้เกิดระบบเศรษฐกิจและการเงินแบบทุนนิยมโดยให้ความสำคัญกับรายได้และจำนวนเงินเป็นสำคัญ

ผลกระทบต่อวิถีชีวิตจากเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเลี้ยงครอบครัวและจุนเจือกันถูกกลืนหายไป การผลิตทางการเกษตรถูกควบคุมด้วยระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณภาพของสินค้าเพื่อนำไปจำหน่ายในตลาดเสรี หรือนำไปป้อนระบบอุตสาหกรรม  เพื่อการแปรรูปโดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างรายได้และผลกำไรให้ได้มากที่สุด โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับผลกระทบกับวัฒนธรรมแบบเดิมหรือผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เกษตรกรหันไปทำการเกษตรที่เน้นปริมาณผลผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการทางการตลาดและราคา เกษตรกรตกเป็นเหยื่อของการเป็นหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ รวมทั้งเป็นหนี้ที่ถูกทำให้ติดกับอยู่ภายในห่วงโซ่ของการผลิต เช่นต้องถูกบังคับให้ใช้เมล็ดพันธ์ ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ จนตัวเองต้องมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้าย ผลผลิตต้นทางที่เก็บเกี่ยวมาถูกนำมาตัดแต่งคัดทิ้งเพื่อนำมาแปรรูปจนเหลือเศษที่ไม่ได้นำมาทำประโยชน์ถูกทิ้งไปเป็นขยะไปเป็นจำนวนมาก ในเวลาที่ราคาผลผลิจตกต่ำเมื่อผลิตได้ไม่คุ้มกับทุนที่ลงไปถึงกับนำเอาผลผลิตมาเททิ้ง

เศรษฐกิจแบบทุนนิยมนำมาซึ่งวิถีชีวิตแบบบริโภคนิยมเข้ามาแทนที่วิถีชีวิตแบบพอเพียงที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณของไทย วิถีชีวิตแบบบริโภคนิยมทำให้เกิดกระบวนการทางการตลาดและการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขาย ผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาจึงเกิดการบริโภคตามกระแสความนิยมของสังคมและบริโภคเกินความจำเป็น เราจึงเห็นสินค้ารุ่นใหม่ออกมาสู่ตลาดโดยตลอด ผลิตภัณฑ์ที่ตกรุ่นไปแล้วผู้บริโภคก็เลิกใช้และรีบหาผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่กว่ามาใช้แทน เพื่อไม่ให้น้อยหน้าเพื่อนฝูงหรือถูกมองว่าด้อยกว่าคนอื่นในสังคม

วิถึชีวิตแบบเสพติดผลิตภัณฑ์

สังคมไทยเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมแห่งการเสพติดและบริโภคผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจนเกินพอดี การบริโภคแบบด้อยคุณภาพทั้งทางรูปธรรมและนามธรรมเกิดขึ้นทั่วไปในสังคมไทย เกิดลักษณะการบริโภคแบบเสพติดผลิตภัณฑ์ วิถีชีวิตแบบนี้ไม่ได้พัฒนาคุณภาพชีวิตหรือสร้างคุณค่าให้แก่จิตใจมนุษย์เลย การเติบโตขึ้นของเศรษฐกิจทุนนิยม ได้ละเลยคุณค่าของวัฒนธรรมพื้นฐานของชาติไทยเรา ความเอื้ออาทรและอุดมคติ    ที่มีความซื่อสัตย์ต่อกันถูกมองว่าเป็นตัวถ่วงความก้าวหน้าทางธุรกิจ การทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เปรียบทางธุรกิจและโอกาสทางการตลาดและการทำกำไร โดยมิได้คำนึงถึงความถูกต้องและความพอเพียงเป็นค่านิยมที่เกิดขึ้นจนยอมรับว่าเป็นความจำเป็นในการทำธุรกิจไปแล้ว การแข่งขันทางการตลาดเพื่อให้เกิดความต้องการการบริโภคเกินความจำเป็นของปัจจัยพื้นฐานที่มีคุณค่าต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพ ผู้บริโภคจึงเป็นเหมือนปลาที่รอกินเหยื่อที่ผู้ประกอบการธุรกิจนำมาล่อ แม้ว่าจะรู้ว่าสิ่งนี้ฟุ่มเฟือยและอยู่นอกเหนือปัจจัยพื้นฐาน แต่การมอมเมาด้วยค่านิยมและการโฆษณา ทำให้ค่านิยมเหล่านี้ถูกฝังลึกลงไปจนเป็นส่วนหนึ่งของ วิถีชีวิตแบบบริโภคนิยมจนถอนตัวไม่ขึ้น

เปลี่ยนวิธีคิดเพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิต

สังคมไทยต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่มองคุณค่าของการใช้ชีวิตที่อยู่บนเป็นจริงและความพอเพียง  ต้องเลิกพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาพ ลดความฟุ่มเฟือยที่เกิดจากการบริโภคเกินจำเป็น รวมทั้งร่วมกันในการใช้ทรัพยากรทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตอย่างรู้คุณค่า ไม่สร้างพฤติกรรมการบริโภคแบบทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญ การกับการอดออมเพื่อความเข้มแข็งของตนเองและประเทศชาติ รู้จักใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ดังที่บรรพบุรุษของเราเคยมีวิถีชีวิตแบบนี้และดำเนินชีวิตแบบนี้กันมาอย่างมีความสุข

เครดิตภาพ Post Connex , CreativeMOVE

#วิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ #วิถี Gen Y #ยุคบริโภคนิยม