September 26, 2023

Warning: sprintf(): Too few arguments in /home/customer/www/tryit.me/public_html/wp-content/themes/newsphere/lib/breadcrumb-trail/inc/breadcrumbs.php on line 254

วัยไหนก็เป็นได้ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

1 min read
วัยไหนก็เป็นได้ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เทรนใหม่ ไลฟ์สไตล์ ข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิงกีฬา

ร่างกายเราไม่เหมือนกับเครื่องยนต์ ที่มีอะไหล่ให้ทดแทนได้ ไม่สามารถเปลี่ยนส่วนใดของร่างกาย การรักษาสุขภาพตัวเองจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

                  หากพบว่าร่างกายมีอาการปวด ตึง บริเวณแผ่นหลัง ขาชา มือชา เดินลำบาก ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า อาจจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือ โรคกระดูกทับเส้น

                  บริเวณสันหลังของคนเรา จะประกอบด้วยกระดูกชิ้นย่อย ๆ มากกว่า 30 ชิ้น เรียงต่อตั้งแต่แต่ต้นคอจนถึงก้นกบ ระหว่างกระดูกแต่ละข้อจะมีส่วนของหมอนรองกระดูกสันหลัง คั้นกลางเอาไว้ เพื่อป้องกันการเสียดสีของกระดูก ดูดซับและกระจายแรงอัด ซึ่งประกอบไปด้วยไขสันหลัง และเส้นประสาทที่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในส่วนของเส้นประสาทส่วนต้น ที่แยกแตกแขนงออกมานี้ เรียกว่า รากประสาท อยู่ชิดกันกับหมอนรองกระดูก เมื่อมีการเคลื่อนตัวจะกดทับรากประสาทในส่วนที่ต้องไปหล่อเลี้ยงแขนและขา ทำให้เกิดอาการปวดชาขึ้น และมักพบบ่อยบริเวณกระเบนเหน็บหรือที่บั้นเอว

วัยไหนก็เป็นได้

                  ในประเทศไทยพบผู้ที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มสูงอายุ ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากการเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลัง หากมีการใช้แรงมาก ๆ อาจจะมีอาการโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทชนิดเฉียบพลันได้ กลุ่มวัยรุ่นถึงวัยทำงาน แม้ว่าโอกาสจะมีน้อยเนื่องจากสภาพร่างกายในช่วงนี้เป็นวัยที่มีความแข็งแรงครบทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงกระดูกด้วย แต่หากมีการใช้งานร่างกายหนัก ใช้งานไม่เหมาะสม การทำงานผิดท่าทาง หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ก็อาจจะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมได้

อาการและการรักษา

                  หากรู้สึกปวดบริเวณเอวส่วนล่างด้านหลัง เพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง เกิดขึ้นได้จากการนั่ง หรืองการอตัว ปวดคอ ปวดไล่จากบ่า หัวไหล่ลงมาที่แขนจนถึงมือ และไม่มีแรงขยับตัวลำบาก นั่นคืออาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

                  ในรายที่เป็นไม่มากสามารถรักษาโดยการทานยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาต้านการอักเสบ เพื่อลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่บางรายที่มีอาการปานกลางจนถึงขั้นรุนแรง

อาจจะต้องเข้ารับการกายภาพบำบัดจากแพทย์หรือพยาบาลผู้มีความชำนาญและใช้เสื้อผยุงหลัง เพื่อลดอาการการปวด การใช้ยาสเตียรอยด์ฉีดเข้าโพรงประสาทก็เป็นอีกหนึ่งการรักษา

แต่เป็นที่นิยมรักษามากที่สุดคือการผ่าตัดหมอนรองกระดูก โดยใช้วิธีผ่านกล้องเอ็นโดสโคป เพราะจะได้แผลที่เล็ก ฟื้นตัวได้เร็ว ไม่ค่อยเจ็บ ลดภาวะการเสียเลือด และลดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความทันสมัยสามารถรักษาได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่เกิดขึ้น เมื่อมีอาการปวดหลังบ่อย ๆ อย่าพึงนิ่งนอนใจ รีบไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่งั้นอาจจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ส่งผลต่อร่างกายต่อไปในระยะยาวได้

                  ร่างกายของคนเราไม่เหมือนกับเครื่องยนต์ ที่มีอะไหล่ให้ทดแทนได้ เราไม่สามารถเปลี่ยนส่วนอื่นส่วนใดของร่างกาย ดังนั้นการรักษาสุขภาพตัวเองจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม แม้ว่าเทคโนโลยีด้านการแพทย์จะก้าวหน้าไปขนาดไหน แต่อย่าลืมว่า โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นเพียงการรักษาเพื่อให้คงสภาพหรือแก้ไขไม่ให้เสื่อมลงเท่านั้น ทางที่ดีควรทานอาหารที่ดี พักผ่อนให้เพียงพอ บำรุงกระดูก ประสาท และสมอง ไม่ออกกำลังกายมากเกินไป และไม่ควรให้ตัวเองเป็นโรคอ้วน เพราะหากมีสุขภาพที่ดี โรคภัยก็ไม่มีเข้ามา

เครดิตภาพ : ariyawellness.com / today.line.me / mthai.com

#หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท #รู้ทันโรค #สุขภาพดีสร้างได้