องค์ประกอบเพื่อให้การตบลูกได้ผลโดยสมบูรณ์
1 min read
การเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอลก็ควรฝึกให้ห่างจากจุดหมาย ที่จะตบประมาณ 3-4 เมตร ในช่วงแรกผู้ตบจะเคลื่อนที่โดยการ วิ่งเหยาะ ๆ ในจังหวะสุดท้ายที่จะกระโดดขึ้น
1. การเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอล
การเคลื่อนที่เข้า หาลูกบอลมีความสําคัญเป็นอันดับแรกในการฝึกตบ เพราะถ้า หากเคลื่อนเข้าไปชิดหรือห่างลูกบอลเกินไปก็ทําให้การตบไม่ได้ผลดี การเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอลควรอยู่ห่างลูกบอลทางด้านหลังประมาณ ช่วงแขนของผู้เล่น เพราะเมื่อกระโดดขึ้นไปแรงเหวี่ยงจากการ เคลื่อนที่จะส่งให้เข้าไปใกล้ลูกบอลอีก
การเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอลก็ควรฝึกให้ห่างจากจุดหมาย ที่จะตบประมาณ 3-4 เมตร ในช่วงแรกผู้ตบจะเคลื่อนที่โดยการ วิ่งเหยาะ ๆ ในจังหวะสุดท้ายที่จะกระโดดขึ้นตบลูกบอล จึงใช้วิธี “ก้าวรวบเท้า” พร้อมกับเหวี่ยงแขนทั้งสองข้างมาข้างหลัง ย่อตัว เตรียมกระโดดขึ้นตบลูกบอลต่อไป

วิธีปฏิบัติ
1.2ในจังหวะที่เท้าข้างหนึ่งถึงจุดที่ต้องกระโดดให้ย่อตัว
พร้อมกับลากเท้าอีกข้างหนึ่งเข้ามาใกล้ ๆ กัน แขนทั้งสองข้าง เหวี่ยงไปข้างหลัง ลําตัวและน้ําหนักตัวจะเอนไปอยู่ทางด้านหลัง เล็กน้อย
2.2เหวี่ยงแขนทั้งสองข้างเฉียดข้างลําตัวขึ้นไป
ข้างหน้า พร้อมกับถีบเท้าทั้งสองกระโดดขึ้นในแนวดิ่ง (แขนทั้งสองเหวี่ยงขึ้น ไปอยู่เหนือศีรษะ)
3.2ขณะลอยอยู่ในอากาศทรงตัวให้ดี
โดยยกแขนไว้ ใบ หน้าเงยมองดูลูกบอลที่จะตบ
2. การกระโดดและการตบลูกบอล
ภายหลัง จากก้าวรวบเท้าและกระโดดลอยตัวขึ้นสูงสุดแล้ว
1.2ให้เอื้อแขนข้างที่จะตบลูกบอล
ส่วนแขนอีกข้างหนึ่งเหยียดและชี้ไปข้างหนึ่งเพื่อทรงตัว แอ่นตัวไปข้างหลัง งอ เข่าเล็กน้อยเพื่อทรงตัว
2.2เริ่มดีดตัวกลับมือที่จะตบลูกบอลซุ้มนิ้วซิดกัน
3.2เหยียดตัวเหวี่ยงแขนไปข้างหน้าเพื่อตบลูก
พยายามใช้ความเร็วในการตบลูกด้วยแขนที่เหยียดเกือบตรง
4.มือที่ตบลูกบอลสัมผัสข้างบนกิ่งมาทางด้านหลัง
ของลูกบอล โดยให้ถูกเต็มฝ่ามือ หักข้อมือตามแรงส่งไป ส่วน มือข้างที่ไม่ได้ตบนั้น ในจังหวะทําการตบให้กระชากข้อศอกลงเพื่อ เพิ่มแรงตบให้มากขึ้น
3. การทรงตัวภายหลังการตบ
ภายหลังการตบ เมื่อลงสู่พื้นควรลงให้พร้อมกันด้วยทั้งสองเท้า ย่อเข่าให้มาก กาง แขนทั้งสองข้างออกเล็กน้อยเพื่อการทรงตัว เงยหน้ามองดูลูกบอล ตลอดเวลา และเตรียมพร้อมที่จะทําการเล่นต่อไป
#ลูกบอล